ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่.......โลกแห่งการเรียนรู้

นำท่านสู่ความรู้.....ที่ท่านใคร่จะรู้

ขอเชิญ..เข้ามา...เข้ามา.......











































































































วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัดพระศรีอารย์






เที่ยวราชบุรี



ถ้ำเขาบิน ราชบุรี
ตั้งอยู่บนรอยต่อของสองอำเภอคือ อำเภอเมือง และอำเภอจอมบึง ถ้ำเขาบินนี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเส้นทางราชบุรี-จอมบึง ระยะทางประมาณ 20 กม. จากปากทางมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 2 กม. ถ้ำเขาบินตั้งอยู่ในเทือกเขาบิน ซึ่งมีความสูงประมาณ 200 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินย้อยสวยงามมาก สามารถจินตนาการเป็นรูปสัตว์ต่างๆ หลายชนิด สุดปลายถ้ำมีหินย้อย เป็นรูปนกตัวใหญ่กำลังกางปีกอันเป็นที่มาของชื่อถ้ำเขาบิน

พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

นางในวรรณคดี


บุษบา

นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
ลักษณะนิสัย
1.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า
"อันนางจินตะหราวาตี ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา
หากเขาก่อก่อนอ่อนมา ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้ แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"
4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
5.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"
6.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
7.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
8.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
9.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
10.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดี

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย




ดอกไม้ในวรรณคดี
ดอกไม้ ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะใน หนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศทองแดง นิราสหริภุญชัย นิราศพระประธม นิราศสุพรรณ นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศเจ้าฟ้าลิลิตพระลอ และลิลิตตะเลงพ่าย
เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผ้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่ด้วย หวังว่าสิ่งที่เรียบเรียงมาคงจะเป็นประโยชน์และเกิดความประทับใจกับการพรรณา ของกวีไทยบ้าง

ดอกไม้ในวรรณคดี

ชื่อดอกไม้
วรรณคดีที่กล่าวถึง
ถิ่นกำเนิด
กระดังงา
รามเกียรติ์ นิราศกลาง
ไทย ฟิลิปปินส์
กาหลง
รามเกียรติ์ อิเหนา บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย นิราศขุนช้างขุนแผน พระอมัยมณี
ไทย พม่า
แก้ว
รามเกียรติ์ อิเหนา ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ขุนช้างขุนแผน
ไทยพม่า
กุหลาบ
รามเกียรติ์ มัทนะพาธา พระอภัยมณี อิเหนา
ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา
จำปี
รามเกียรติ์ เงาะป่า ลิลิตตะเลงพ่าย ขุนช้างขุนแผน
ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
จำปา
รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า
ไทย จีน มาเลเซีย อินเดีย
ชงโค
รามเกียรติ์ อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย
จีน อินเดีย
ช้องนาง
รามเกียรติ์ ลิลิตพระลอ
ทวีปแอฟริกา
นางแย้ม
รามเกียรติ์ อิเหนา ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย
ไทย พม่า อินโดนีเซีย

ดอกกรรณิการ์
“…กรรณิการ์ ก้านสีแดงสด คิดผ้าแสดติดขลิบนาง เห็นเนื้อเรื่อโรงราง ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…” วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “นิราศธารโศก” ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nyctanthes arbor – tristis ชื่อสามัญ : Night Jasmine ชื่อวงศ์ : Verbenaceae
กรรณิการ์เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร ใบสากคาย ขอบใบเป็นจักตื้น ๆ และใบออกทิศทางตรงข้ามกัน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายดอกมะลิ แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า ปลายกลีบมี ๒ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีส้มสด ดอกบานส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน และจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น
ผลมีลักษณะกลมแบน ขณะอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ ใช้ตอนกิ่ง
ทางด้านสมุนไพร เปลือกให้น้ำฝาด เปลือกชั้นในเมื่อผสมกับปูนขาวจะให้สีแดง ดอกมีน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ เช่นเดียวกับมะลิ ส่วนของดอกที่เป็นหลอด สกัดเป็นสีย้อมผ้าไหม ใบใช้แก้ไข้และโรคปวดตามข้อ น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบาย และเป็นยาขมเจริญอาหาร

บุนนาค
“….พิกุลบุนนาคมากมี ตามทางหว่างวิถีสีขาวสด ชมพลางทางเร่งรีบรถ เลียบตามบรรพตคีรี…” วรรณคดี : “อิเหนา” ตอนท้าวปันจะรากันไปในพิธีอภิเษกสังคามาระตา ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mesua ferrea, L. ชื่อสามัญ : Indian Rose Dhestnut, Iron Weed ชื่อวงศ์ : Guttiferae ชื่ออื่น ๆ : นาคบุตร
บุนนาคเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ทรงพุ่มยอดแหลม ออกดอกในฤดูหนาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับทิศทางกัน มีลักษณะเป็นกระจุกใหญ่ตรงกลาง บางต้นกลีบดอกออกสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๕ - ๗.๕ เซนติเมตร หลังจากดอกโรยจะติดเมล็ด
การขยายพันธุ์ นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด
คุณค่าทางสมุนไพร ใช้เกสรผสมยาหอมบำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้วิงเวียนเป็นยาชู้กำลัง ฯลฯ

อาหารหวานในวรรณคดีไทย






ความเป็นมาของขนมไทย ที่มาของคำว่าขนม "ขนม" สันนิษฐานว่ามาจาก "ข้าวหนม" กับ "ข้าวนม" ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย น้ำตาล โดย คำว่า หนม แปลว่า หวาน เมื่อรวมกันจึงหมายความว่า ข้าวหวาน สมัยสุโขทัย "ขนมต้ม" ขนมไทยที่มีความเก่าแก่ พบการกล่าวถึงขนมชนิดนี้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง เรียบเรียงเป็นภาษาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.1888 ขนมต้มทำได้ง่ายโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ได้แก่ แป้ง มะพร้าว น้ำตาล ขนมต้มมี 2 ชนิด คือ ขนมต้มขาวและขนมต้มแดง "ขนมต้มขาว" ลักษณะเป็นแป้งลูกกลมๆ ข้างในไส้ใส่มะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล ส่วน " ขนมต้มแดง"ไม่มีไส้ ทำเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก ต้มให้สุก คลุกน้ำตาล นับเป็นความอร่อยอย่างเรียบง่ายของคนไทยในยุคอดีตที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สมัยอยุธยา คนไทยสมัยโบราณจะได้กินขนมก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่ใช้เลี้ยงแขกในงานขุดสระน้ำ เป็นขนมไทยที่กินกับน้ำกะทิ คือ "ขนมสี่ถ้วย" หมายถึง ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) บัวลอย (ข้าวตอก) และอ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) และได้กลายเป็นประเพณีเลี้ยงขนมชื่อว่า "ประเพณี 4 ถ้วย"นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ยุคทองของขนมไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย เมื่อสตรีชาวโปรตุเกสเชื้อสายญี่ปุ่นนามว่า "มารี กีมาร์" ผู้เป็นภรรยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือบรรดาศักดิ์ว่า "ท้าวทองกีบม้า" เข้ารับราชการเป็นต้นเครื่องขนม ของหวานในวัง ท่านได้นำไข่ และ น้ำตาลทราย มาเป็นส่วนผสมสำคัญในขนมไทยและท่านได้ดัดแปลงสูตรขนมต่างๆ เช่น ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ สมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงนิพนธ์ "กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน" เพื่อชมฝีมือการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ผู้เป็นมเหสีอันเป็นที่รัก และมีฝีมือในการทำอาหารคาวหวานจนเป็นที่โปรดปราน และเพื่อใช้สำหรับเป็นบทเห่ในระหว่างการเดินทางทางชลมารค กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้บรรยายถึงอาหารคาวทั้ง 15 ชนิด และอาหารหวาน 15 ชนิด

อาหารในวรรณคดีไทย

กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน(และว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์) เป็นกาพย์เห่เรือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับอาหารคาวหวานในวัง โดยใช้การบรรยายเนื้อหาเยี่ยงนิราศ คือการรำพึงรำพันถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โดยนำเอาชื่ออาหาร ลักษณะ ส่วนประกอบ หรือความสัมพันธ์มาเชื่อมโยงเข้ากับการรำพึงรำพันนั้น นอกจากนี้ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ยังเป็นวรรณคดีที่มุ่งเน้นความงดงามไพเราะของวรรณคดีเหนือสิ่งอื่นใด มีการใช้โวหารและภาษาที่สละสลวย ตลอดจนการอุปมาเพื่อสื่อถึงรสชาติและฝีมือในการปรุงอาหารของนางอันเป็นที่รัก และการนำชื่ออาหารซึ่งสื่อถึงความในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในความสุขจากการใกล้ชิดหรือโศกเศร้าจากการพรากจากนางอันเป็นที่รักได้อย่างกลมกลืน ชื่ออาหารหลายชนิดในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นอาหารโบราณที่หารับประทานได้ยาก เนื่องจากมีวิธีการปรุงที่ยาก และต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างมาก เช่นหรุ่ม ล่าเตียง เป็นต้น ซึ่งจากวรรณคดีเรื่องนี้ก็ทำให้มีผู้นำอาหารโบราณหลายชนิดมารื้อฟื้นฝึกปรุงใหม่กันอีกด้วย
อาหารในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
1.แกงมัสมั่น
2.ยำใหญ่
3.ตับเหล็กลวก
4.หมูแนม
5.ก้อยกุ้ง
6.แกงเทโพเนื้อ
7.แกงขม
8.อ่อม
9.ข้าวหมกไก่, ข้าวหุงเครื่องเทศ(ใส่ลูกเอ็น คือลูกเฮ็ลหรือลูกกระวาน)
10.แกงคั่วส้มใส่ระกำ
11.พล่าเนื้อ
12.ล่าเตียง
13.หรุ่ม
14.รังนก
15.ไตปลา
16.แสร้งว่า
17.น้ำยา
18.หมูป่าต้ม
ผักในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
1.ใบโศก
2.ผักโฉม
3.ผักหวาน

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์

การพัฒนาบุคลากร



คณะครูได้เข้ารับการอบรม ณ สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม

โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น







โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นโครงการที่โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลทำการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สนับสนับสนุนโดย สกว. เรื่องการศึกษาภูมินามตามรอยประพาสต้น ผู้จัดทำ ได้แก่ น.ส.หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์ น.ส.ภิญญา เรืองชัยนุสรณ์น.ส.คนึงนิจ ลีสุวรรณ น.ส.นัฐพร ยันต์วิเศษ และน.ส. ศิริวรรณ ตุนทารยาท อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ได้แก่ นางสมศรี เฮงประเสริฐได้ทำการศึกษาที่มาของสถานที่ ๔ แห่ง ได้แก่ บ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก วัดโชติทายการาม วัดปราสาทสิทธิ์ และคลองลัดพลี ซึ่งเป็นสถานที่ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสต้น คลองดำเนินสะดวก