ความเป็นมาของขนมไทย ที่มาของคำว่าขนม "ขนม" สันนิษฐานว่ามาจาก "ข้าวหนม" กับ "ข้าวนม" ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย น้ำตาล โดย คำว่า หนม แปลว่า หวาน เมื่อรวมกันจึงหมายความว่า ข้าวหวาน สมัยสุโขทัย "ขนมต้ม" ขนมไทยที่มีความเก่าแก่ พบการกล่าวถึงขนมชนิดนี้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง เรียบเรียงเป็นภาษาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.1888 ขนมต้มทำได้ง่ายโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ได้แก่ แป้ง มะพร้าว น้ำตาล ขนมต้มมี 2 ชนิด คือ ขนมต้มขาวและขนมต้มแดง "ขนมต้มขาว" ลักษณะเป็นแป้งลูกกลมๆ ข้างในไส้ใส่มะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล ส่วน " ขนมต้มแดง"ไม่มีไส้ ทำเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก ต้มให้สุก คลุกน้ำตาล นับเป็นความอร่อยอย่างเรียบง่ายของคนไทยในยุคอดีตที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สมัยอยุธยา คนไทยสมัยโบราณจะได้กินขนมก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่ใช้เลี้ยงแขกในงานขุดสระน้ำ เป็นขนมไทยที่กินกับน้ำกะทิ คือ "ขนมสี่ถ้วย" หมายถึง ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) บัวลอย (ข้าวตอก) และอ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) และได้กลายเป็นประเพณีเลี้ยงขนมชื่อว่า "ประเพณี 4 ถ้วย"นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ยุคทองของขนมไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย เมื่อสตรีชาวโปรตุเกสเชื้อสายญี่ปุ่นนามว่า "มารี กีมาร์" ผู้เป็นภรรยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือบรรดาศักดิ์ว่า "ท้าวทองกีบม้า" เข้ารับราชการเป็นต้นเครื่องขนม ของหวานในวัง ท่านได้นำไข่ และ น้ำตาลทราย มาเป็นส่วนผสมสำคัญในขนมไทยและท่านได้ดัดแปลงสูตรขนมต่างๆ เช่น ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ สมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงนิพนธ์ "กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน" เพื่อชมฝีมือการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ผู้เป็นมเหสีอันเป็นที่รัก และมีฝีมือในการทำอาหารคาวหวานจนเป็นที่โปรดปราน และเพื่อใช้สำหรับเป็นบทเห่ในระหว่างการเดินทางทางชลมารค กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้บรรยายถึงอาหารคาวทั้ง 15 ชนิด และอาหารหวาน 15 ชนิด
วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น